956110264756522
shopup.com

ดูบทความเมื่อลูก ถูกแกล้ง ( bully ) !! EP.3 แค่ไหนต้องทน แต่ไหนต้องทำยังไง

เมื่อลูก ถูกแกล้ง ( bully ) !! EP.3 แค่ไหนต้องทน แต่ไหนต้องทำยังไง

 

หาโอกาสสอนวิธีเอาตัวรอด จากการ Bully ได้ก็ต่อเมื่อ รู้ได้ต่อเมื่อได้รู้ว่า ลูกถูก Bully หรือไม่โดย

หาโอกาสพูดคุยกันยามในปกติ ขอย้ำว่าในยามปกติ หรือ ในเวลาที่ลูกผ่อนคลาย เช่นก่อนนอน

นอนคุยกัน ให้ลูกเล่าถึงเรื่องที่โรงเรียนวันนี้ โดย

 

 

 

1.ยกสถานะการณ์ขึ้นมา เป็นประเด็นคุยกับลูก

 

เช่น เคยพาดูคลิปหรือการ์ตูน ฟที่มีการ Bully การแกล้งกันขำๆ ถามความรู้สึกของลูกดูว่า รู้สึกอย่างไร

คนที่ถูกแกล้ง ถ้าเป็นลูกจะรู้สึกยัง เพื่อ เปิดโอกาสได้ แสดงมุมมอง หรือ สะท้อนถึงตัวเอง ถ้าเจอสถานะการณ์เช่นนั้น

แนะวิธีรับมือให้ลูก พร้อมทั้งเล่าถึงมุมมอง คนที่แกล้งเพื่อน เพราะอะไร และเหตุใด เราควรรับมือ หรือหลีกเลี่ยงเขา

 

 

 

2.ถามลูกว่า มีอะไร ที่ชอบ และไม่ชอบ ในวันนี้

 

เพราะอะไร เป็นการเปิดเรื่อง ค่อยๆถามต่อว่า เคยถูกเพื่อนว่าให้เสียใจ ทำให้เจ็บ หรือแกล้งมั้ย

(เด็กเล็กจะยังไม่เข้าใจ คำว่า “แกล้ง” จะต้องใช้เป็นการกระทำตรงๆ) ลูกไม่พอใจเวลาเพื่อนแกล้ง

หรือพูดแบบไหนมากที่สุด ให้ลูกค่อยๆเล่าเหตุการณ์นั้นมา 

 

 

3.คุณแม่จะต้องไม่รับฟังแบบนำไปซักทอดพยาน หรือตัดสินใคร

 

โดยเฉพาะหากลูกเอ่ยถึงเพื่อนที่แกล้งลูก หรือสิ่งที่ลูกตอบโต้กลับ ถ้าลูกสัมผัสได้ว่า การเล่าออกไป

จะทำให้ลูกหรือเพื่อนลูกไม่ปลอดภัย เด็กบางคนจะหยุดการเล่าทันที จำไว้เสมอว่า จุดประสงค์ของ

การพูดคุย คือ การรู้ความรู้สึกของลูกว่าการโดน  Bully ของลูกเป็นอย่างไร อยู่ในระดับไหน

 

 

4.แสดงความเห็นใจ และบอกลูกว่า เรารักเขา เราเป็นห่วง

 

และเสียใจถ้ามีใจมาทำให้ลูกเสียใจ เพื่อให้ เด็กรู้ว่าเรา เห็นใจและอยู่ข้างเดียวกับเขา

ในวันที่ปัญหาใหญ่ขึ้น ความไว้วางใจ จะทำให้ ลูกไว้วางใจที่จะเล่าให้เราฟัง เพื่อหาทางแก้ร่วมกัน

 

 

 

5.พ่อแม่ เล่าให้ฟังถึงทางเลือก

 

ในการรับมือกับ สถานการณ์ตามระดับ ความรุนแรง โดยยกตัวอย่างตัวเองและสมมติผู้กระทำ

เช่น ถ้าเพื่อนว่าให้เสียใจ เพราะอะไร เพื่อนถึงว่า และ ลูกควรจะ คิดแบบไหน พูดโต้ตอบแบบไหน

หรือ หากเพื่อนทำรุนแรง ให้เจ็บ เช่น กระชากแขนอย่างแรง บอกถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

เช่น แขนหัก หรือ ล้มกระแทก เพื่อให้ลูกรู้จักป้องกันตัว หลีกเลี่ยงเพื่อนคนนั้น แล้ว พ่อแม่ผู้ปกครอง

มีหน้าที่ต้องพูดคุยกับ ครูประจำชั้น ว่า มีเหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหา ให้ครู ช่วย

สอดส่องดูแลมากกว่านี้

 

 

 

การพูดคุยด้วยความสนิทสนม ทำให้เรา ได้รับรู้สถานการณ์ ความเป็นอยู่ของลูก รวมถึง

สภาพจิตใจและวิธีรับมือกับปัญหาของลูก เพื่อประเมิน ความเหมาะสมกับการสอนวิธีป้องกันตัว

ให้ลูกทั้งทางกาย ทางใจ ^^

 

06 ตุลาคม 2563

ผู้ชม 1148 ครั้ง

Engine by shopup.com